วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2556  เวลาเรียน 14 : 10 - 17 : 30 น.

เข้าเรียน  14 :10 น.  เข้าสอน 14 : 10 น.   เลิกเรียน  16 : 27 น.

บันทึกการเรียนการสอน


- สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
  • จำนวนและการดำเนินการ
  • การวัด
  • เรขาคณิต
  • พีชคณิต
  • การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- ความหมายของคณิตศาสตร์
  • ระบบการคิดของมนุษย์  เพื่อศึกษาและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงปริมาณ  โดยใช้ภาพสัญลักษณ์  การพูด  การเขียน  และเป็นการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจ  เกี่ยวกับจำนวน  ตัวเลข  การคิดคำนวณ  หรือการดำเนินการเกี่ยวกับ  จำนวน  การวัด  หรือแบบรูปความสันพันธ์การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น  ซึ่งต้องใช้ความคิดที่เป็นระเบียบ
- ความสำคัญทางคณิตศาสตร์
  • เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
  • ส่งเสริมกระบวนการคิดแก้ปัญหาโดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์
  • เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจข้อมูล  วางแผนงานและประเมินผล
  • เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของ Piaget

  1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส
  • เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ
  • สามารถจดจำสิ่งต่างๆ บอกคุณลักษณะของวัตถุได้
     2.  ขั้นการเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล

  • ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้  ความคิด
  • เริ่มรู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง และความยาว
  • เล่นบทบาทสมมุติซึ่งเป็นพื้นฐานของพัฒนาการความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น         เช่น  จำนวน  ตัวเลข
  • เด็กวัยนี้จะให้ความสำคัญ กับสิ่งที่สังเกตและรับรู้ได้ชัดเจนที่สุด
  • ไม่สามารถคงความคิดตามสภาพเดิมไว้ได้  เมื่อสภาพทางกายภาพเปลี่ยนแปลง  ทำให้เด็กไม่สามารถสั่งสมความคิดไว้ได้

การอนุรักษ์ ( Conservation )

- เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย
  • โดยการนับ
  • การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
  • การเปรียบเทียบรูปร่าง  ปริมาตร
  • เรียงลำดับ
  • จัดกลุ่ม
- หลักการการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้พูดคุย  อธิบายและสำรวจความสัมพันธ์แบบต่างๆของคณิตศาสตร์ผ่านวัตถุและสื่ออุปกรณ์
  • ผสมผสานคณิตศาสตร์กับการเล่น  และกิจกรรมที่มีการลงมือปฏิบัติ
  • ให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ  ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เชื่อมโยงการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

- อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น แล้วให้วาดรูปสัตว์ที่คิดว่ามีขาเยอะที่สุดมาคนละ 1 รูป







ของดิฉันวาดรูป "หนอน" เพราะคิดว่าหนอนมีขาเยอะที่สุด


ประโยชน์

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้
-ได้รู้ว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สามารถนำมาใช้ประจำในการดำเนินชีวิตประจำวันและเด็กปฐมวัยก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ไปดำเนินในการใช้ชีวิตประจำวันเช่นกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น